กระบวนการถ่ายทอดศิลปะการแสดงตามวัฒนธรรมท้องถิ่น และพัฒนาชุมชนให้มีความเข้มแข็งทางวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน

สำนักศิลปะและวัฒนธรรมได้ดำเนินการพัฒนาศักยภาพของชุมชน โดยใช้แนวคิดการจัดทำ “โครงการสืบสาน สร้างสรรค์ สนับสนุนพื้นที่แหล่งเรียนรู้ชุมชน” โดยขับเคลื่อนกิจกรรมในรูปแบบการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนานักศึกษาให้เป็นผู้้มีภาวะความเป็นผู้นำ บูรณาการการเรียนการสอนด้านดนตรีและนาฏศิลป์พื้นบ้าน และการสร้างนวัตกรรมด้านศิลปะการแสดงจากฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยกิจกรรมนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุนพื้นที่แหล่งรู้ที่สอดคล้องต่อบริบทของชุมชนและเทียบทันต่อการขับเคลื่อนของยุคสมัยที่จะทำให้เกิดการหนุนเสริมต่อชุมชนให้เกิดความตระหนักรู้ การสืบทอดองค์ความรู้ต่อเยาวชน และนำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับแหล่งเรียนรู้ที่จำไปสู่ความยั่งยืนได้ต่อไปในอนาคต ซึ่งมีกิจกรรม ดังนี้

1. อบรมและพัฒนานักศึกษาให้เกิดการปฏิบัติด้านดนตรีและนาฏศิลป์พื้นบ้าน

สำนักศิลปะและวัฒนธรรมจัดอบรม เชิงปฏิบัติการเพื่อฝึกฝนทักษะการปฏิบัติดนตรีและนาฏฺศิลป์พื้นบ้าน โดยจัดอบรมนักศึกษา ณ ห้องประชุมศิวาลัย ศูนย์วัฒนธรรมอีสานใต้ โดยมีอาจารย์เป็นวิทยากรให้ความรู้ กิจกรรมการฝึกอบรมจะให้นักศึกษาเรียนรู้เทคนิคการปฏิบัติและฝึกฝนจนเกิดความชำนาญ และหลังจากที่ฝึกฝนปฏิบัติเป็นที่เรียบร้อยแล้วจะให้ฝึกฝนทักษะกระบวนการถ่ายทอดความรู้ ทักษะการจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง รู้และเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคลและบูรณาการด้านการสร้างขวัญและกำลังใจกับการเรียนการสอนด้านศิลปวัฒนธรรม
กลุ่มเป้าหมายของการอบรมฝนครั้งนี้ คือนักศึกษาสาขาวิชานาฏศิลป์ และสาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โดยสำนักศิลปะและวัฒนธรรมได้จัดกิจกรรมเรียนรู้ฝึกฝนปฏิบัติด้านการแสดงดนตรีพื้นบ้านและนาฏศิลป์พื้นบ้าน เน้นกิจกรรมการฝึกปฏิบัติ โดยการนำวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถด้านดนตรีพื้นบ้าน และนาฏศิลป์พื้นบ้าน มาถ่ายทอดให้ความรู้กับนักศึกษา และมีการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ Focus Group เพื่อให้สร้างสรรค์ผลงานด้านการแสดง ตามลำดับขั้นตอนดังนี้
  • 1) กิจกรรมเรียนรู้บริบทชุมชนชาวอีสานใต้ จังหวัดบุรีรัมย์ บริบทชุมชนบ้านหนองต้อ อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์
  • 2) กิจกรรมการเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่นที่เกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสานใต้
  • 3) กิจกรรมฝึกอบรมการปฏิบัติการบรรเลงดนตรีพื้นบ้าน – นาฏศิลป์พื้นบ้าน
  • 4) กิจกรรมการฝึกทักษะปฏิบัติเพื่อนำเสนอและการฝึกฝนภาวะการเป็นผู้นำ
  • 5) กิจกรรมนำเสนอรูปแบบการแสดงที่สอดคล้องกับบริบทชุมชน
...
...

2. กิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านศิลปะการแสดงดนตรีและนาฏศิลป์พื้นบ้าน

สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ลงพื้นที่เพื่อนำนักศึกษา ร่วมกิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านดนตรีและนาฏศิลป์ ณ ชุมชนบ้านหนองต้อ ตำบลหูทำนบ อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยได้รับการประสานงานจากผู้นำชุมชนในการจัดกิจกรรม ณ วัดหนองต้อ
...
กิจกรรมเริ่มต้นจากการต้อนรับด้วยมิตรไมตรีจากชาวบ้าน มีกิจกรรมการรับประทานอาหารร่วมกันเพื่อสร้างความรักความสามัคคีและเป็นกิจกรรมการละลายพฤติกรรมเพื่อให้ชาวบ้านและนักศึกษามีความสนิทสนมกัน สามารถสื่อสารกันได้อย่างเข้าอกเข้าใจ และมีความสุขจากการทำงานร่วมกัน
...
กิจกรรมลำดับถัดไปคือ การแนะนำผู้นำชุมชนและผู้บริหารของสำนักศิลปะและวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ นอกจากนี้ยังมีการแนะนำและพูดคุยถึงวัตถุประสงค์ของการดำเนินโครงการและความสำคัญเชื่อมโยงกับกิจกรรมต่างๆเพื่อให้เกิดการพัฒนาชุมชนอย่างเข้มแข็ง ในกิจกรรมครั้งนี้ได้ให้นักศึกษาได้ร่วมเป็นวิทยากรในการถ่ายทอดองค์ความรู้ทางด้านดนตรีและนาฏศิลป์พื้นบ้านเพื่อให้ชาวบ้านได้ร่วมกิจกรรมและนำทักษะองค์ความรู้ไปต่อยอดต่อไป
...
...
...
...
ในกิจกรรมครั้งนี้ได้เลือกการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการแสดง “เรือมมองก็วลจองได” ซึ่งเป็นศิลปะการแสดงที่เกิดจากการนำเอาความเชื่อความศรัทธาในการบายศรีสู่ขวัญมาถ่ายทอดทางนาฏศิลป์พื้นบ้าน เป็นการแสดงออกถึงการต้อนรับแขกบ้านต่างเมืองโดยเชื่อว่าการบายศรีสู่ขวัญจะทำให้เกิดความสบายใจทำให้เกิดสิ่งดีงามตามวัฒนธรรมท้องถิ่น
กิจกรรมลำดับต่อไปคือการนำเสนอผลงานทางดนตรีและนาฏศิลป์พื้นบ้าน ที่นักศึกษาได้รับจากการฝึกอบรมปฏิบัติ เพื่อให้ชาวบ้านได้เห็นถึงรูปแบบการแสดงที่สวยงามถูกต้องและเหมาะสมเพื่อนำมาเป็นแบบอย่างในการสร้างสรรค์ผลงานการแสดงในลำดับต่อไป การบรรเลงวงดนตรีในครั้งนี้ จะบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีที่เป็นเครื่องดนตรีของวัฒนธรรมชุมชนอีสานใต้คือวงกันตรึม ประกอบไปด้วย ซอกันตรึม กลองกันตรึมและเครื่องประกอบจังหวะคือ ฉิ่ง ฉาบ กรับ พร้อมกับการขับร้องเพื่อเพลงสื่อความหมายถึงการอำนวยอวยพรของพิธีบายศรีสู่ขวัญ
...
...
กิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้ทางด้านนาฏศิลป์จะกำหนดให้นักศึกษานาฏศิลป์เป็นวิทยากรผู้ถ่ายทอดความรู้ในท่ารำต่างๆโดยเริ่มจากท่ารำการฝึกปฏิบัติเบื้องต้นการฝึกการย่ำเท้าและการฝึกการใช้มือในการร่ายรำที่ถูกต้องตามลำดับขั้นตอนประกอบไปด้วยท่ารำออกท่ารำการเรียนแบบการผูกข้อไม้ข้อมือการไหว้บายศรีและท่ารำต่างๆที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวอีสานใต้
...
...
นอกจากนี้ยังให้มีการฝึกการสร้างสรรค์ท่ารำในรูปแบบง่ายๆเพื่อสามารถนำไปใช้ต่อยอดในการร่ายรำในงานหรือวิธีการต่างๆในลำดับต่อไปซึ่งชาวบ้านและผู้ร่วมกิจกรรมต่างมีความสุขและสนุกสนานในการทำกิจกรรมในครั้งนี้เป็นอย่างยิ่ง
...
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากกิจกรรม มีดังนี้
  • 1) สำนักศิลปะและวัฒนธรรมได้ศึกษา อนุรักษ์ภูมิปัญญา ศิลปะและวัฒนธรรมประจำท้องถิ่น เพื่อส่งเสริม ต่อยอดภูมิปัญญา ศิลปะและวัฒนธรรมประจำท้องถิ่น ให้เกิดความเข้มแข็ง
  • 2) เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนให้มีความเข้มแข็งทางวัฒนธรรม ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประจำท้องถิ่น
  • 3) ได้พัฒนานักศึกษาด้านการบูรณาการ การเรียนการสอนกับการอนุรักษ์ ส่งเสริม สืบสาน ศิลปะและวัฒนธรรม
  • 4) สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับปราชญ์ชาวบ้าน ศิลปินพื้นบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสร้างหรือพัฒนาองค์ความรู้ในรูปของงานวิจัยหรือชิ้นงานศิลปะและถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อยกระดับให้เป็นมาตรฐาน
  • 5) พัฒนาศูนย์วัฒนธรรมอีสานใต้ให้เป็นแหล่งสารสนเทศทางวัฒนธรรม เพื่อยกระดับการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน
  • 6) เป็นศูนย์การเรียนรู้เพื่อการบูรณาการศาสตร์ทางศิลปะและวัฒนธรรมกับการพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางใจและฟื้นฟูสุขภาพกายใจ