ข้อมูลชาติพันธ์ุท้องถิ่น ชาติพันธุ์ไทยกูย
ประวัติความเป็นมา
หรือเรียกว่า ชาวส่วย เป็นชื่อเรียกจากทางการไทย ในสมัยรัชกาลที่ 3 เรียกกลุ่มเขมรป่าดงที่หาของป่ามาเป็นส่วย เพื่อไม่ต้องไปเป็นไพร่ส่วยจากการเกณฑ์คนเพื่อใช้แรงงาน จึงเรียกชาติพันธุ์กูยว่า ชาวส่วย ชาติพันธุ์กูยในจังหวัดบุรีรัมย์ส่วนใหญ่อพยพมาจากจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ และจังหวัดสุรินทร์ เมื่อประมาณ 100 ปีกว่ามาแล้ว ได้เข้ามาอยู่ในเขตอำเภอเมืองบุรีรัมย์ หนองกี่ ลำปลายมาศ กระสัง สตึก พลับพลาชัย บ้านด่าน และอำเภอประโคนชัย การนุ่งห่มและการแต่งกายของชนชาวส่วยนิยมการ แต่งกายนุ่งห่มเหมือนชาติพันธุ์เขมรแต่พิเศษคือ นิยมทัดดอกไม้ที่อยู่ทั้งสองข้างจะเป็นดอกไม้สีอะไรก็ได้ ชาติพันธุ์ไทยกูยมีอาชีพ ล่าสัตว์ หาของป่า และที่สำคัญคือ การจับช้างป่า โดยสามารถจับช้างป่ามาฝึกเพื่อใช้งานได้ ปัจจุบันไม่มีช้างป่าให้จับแต่การนับถือศาลปะกำซึ่งเป็นที่รวบรวมอุปกรณ์ในการจับช้าง ยังเป็นวัฒนธรรมที่ชาติพันธุ์กูยปฏิบัติสืบต่อกันมา และจะถือเคร่งในเรื่องการตอบแทนต่อผู้มีพระคุณ เช่นในทุกปีในช่วงสงกรานต์ พวก ลูกหลานจะต้องหาบน้ำไปให้พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย อาบ พร้อมทั้งหาเสื้อผ้าใหม่ ๆ ให้ผลัดเปลี่ยนเป็น ประจำทุกปี เชื่อฟังคำสั่งสอนของบิดา มารดา ไม่ประพฤตินอกรีดนอกรอย ความเชื่อเกี่ยวกับ ขนบธรรมเนียมประเพณีส่วนมากจะคล้ายกับพวกเขมร เช่น การตายจะไม่นิยมเผาแต่จะฝังไว้ก่อน เป็นต้น (สำนักงานจังหวัดบุรีรัมย์. 2563 : 25-26) ภาษากูยหรือสวย เป็นภาษาที่มีความเฉพาะ และมีความแตกต่างจากภาษาลาวและภาษาเขมร คำว่า กูย ในภาษากูย แปลว่า คน ซึ่งนักมานุษยวิทยาจัดพวกกูย ว่าอยู่ในกลุ่มตระกูลมอญเขมร
การกำหนดพื้นที่ในการสำรวจเก็บรวบรวมข้อมูลมรดก ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมชุมชนท้องถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์ ได้กำหนดพื้นที่โดยการเลือกตัวแทนจากกลุ่มชาติพันธุ์ ที่พบในจังหวัดบุรีรัมย์ จากภาพประกอบที่ 2 แผนที่แสดงพื้นที่การสำรวจข้อมูล มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมชุมชนท้องถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์ จากมูลการศึกษาเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์เบื้องต้นจึงเลือกพื้นที่ 4 กลุ่มชาติพันธุ์ได้แก่ หมายเลข 1 อำเภอที่ปรากฏกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ อำเภอพุทไธสง อำเภอหนองกี่ เก็บข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ไทยลาว ชาติพันธุ์ไทยโคราช ชาติพันธุ์ไทยกูย หรือ ชาวส่วย หมายเลข 2 อำเภอแคนดง อำเภอประโคนชัย อำเภอเฉลิมพระเกียรติ เก็บข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ไทยเขมร และกลุ่มชาติพันธุ์ไทยลาวบางส่วน
ประเพณี
การนุ่งห่มและการแต่งกายของชนชาวส่วยนิยมการ แต่งกายนุ่งห่มเหมือนชาติพันธุ์เขมรแต่พิเศษคือ นิยมทัดดอกไม้ที่อยู่ทั้งสองข้างจะเป็นดอกไม้สีอะไรก็ได้ ชาติพันธุ์ไทยกูยมีอาชีพ ล่าสัตว์ หาของป่า และที่สำคัญคือ การจับช้างป่า โดยสามารถจับช้างป่ามาฝึกเพื่อใช้งานได้ ปัจจุบันไม่มีช้างป่าให้จับแต่การนับถือศาลปะกำซึ่งเป็นที่รวบรวมอุปกรณ์ในการจับช้าง ยังเป็นวัฒนธรรมที่ชาติพันธุ์กูยปฏิบัติสืบต่อกันมา และจะถือเคร่งในเรื่องการตอบแทนต่อผู้มีพระคุณ เช่นในทุกปีในช่วงสงกรานต์ พวก ลูกหลานจะต้องหาบน้ำไปให้พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย อาบ พร้อมทั้งหาเสื้อผ้าใหม่ ๆ ให้ผลัดเปลี่ยนเป็น ประจำทุกปี เชื่อฟังคำสั่งสอนของบิดา มารดา ไม่ประพฤตินอกรีดนอกรอย ความเชื่อเกี่ยวกับ ขนบธรรมเนียมประเพณีส่วนมากจะคล้ายกับพวกเขมร เช่น การตายจะไม่นิยมเผาแต่จะฝังไว้ก่อน ภาษากูยหรือสวย เป็นภาษาที่มีความเฉพาะ และมีความแตกต่างจากภาษาลาวและภาษาเขมร คำว่า กูย ในภาษากูย แปลว่า คน ซึ่งนักมานุษยวิทยาจัดพวกกูย ว่าอยู่ในกลุ่มตระกูลมอญเขมร