จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ทางตอนล่างของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ประกอบด้วย 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดศรีสะเกษและจังหวัด อุบลราชธานี มีพื้นที่ติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ประกอบด้วย 4 กลุ่มชาติ พันธุ์ได้แก่ ไทยลาว ไทยเขมร ไทยโคราช และ ไทยกูย หรือ “ส่วย” ซึ่งแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ก็จะมีเอกลักษณ์ทาง วัฒนธรรมที่แตกต่างกันไป เช่น ผ้าทอพื้นบ้าน การละเล่นและแสดงพื้นบ้าน ภาษาพูดในท้องถิ่น อาหาร การแต่งกาย ในพิธีกรรมต่างๆ ประเพณีท้องถิ่น ความเชื่อ ค่านิยม มีวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ใช้ในการดำรงชีพมาช้านาน


แผนที่จังหวัดบุรีรัมย์

จังหวัดบุรีรัมย์ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขอบเขตจังหวัดทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดขอนแก่น จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดสุรินทร์ ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดสุรินทร์ ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดสระแก้ว และราชอาณาจักรกัมพูชาทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดนครราชสีมา มีเนื้อที่รวมทั้งสิ้น 10,393.945 ตารางกิโลเมตร พื้นที่การปกครองมีทั้งสิ้น 23 อำเภอ

Generic placeholder image

แผนที่แสดงพื้นที่การสำรวจข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมชุมชนท้องถิ่น

ชนเผ่าหรือชาติพันธุ์ในจังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์มีภูมิประเทศตอนใต้ติดทิวเขาพนมดงรัก ทิศเหนือมีแม่น้ำมูล และแม่ชีไหลผ่าน จึงเป็นพื้นที่เหมาะสมในการทำการเกษตรกรรม ทำให้มีผู้คนอาศัยอยู่อย่างต่อเนื่อง สามารถแบ่งชาติพันธุ์ที่อาศัยในพื้นที่นี้ได้ 4 ชาติพันธุ์ได้แก่ ชาติพันธุ์ไทยเขมร อาศัยอยู่บริเวณทิศใต้ของจังหวัดบุรีรัมย์มีพื้นที่ติดกับประเทศกัมพูชา ชาติพันธุ์ไทยลาว อาศัยอยู่บริเวณทิศเหนือแม่น้ำมูล ชาติพันธุ์ไทยโคราชเป็นชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่บริเวณด้านทิศตะวันตกของจังหวัดบุรีรัมย์มีพื้นที่ติดกับจังหวัดนครราชสีมา และชาติพันธุ์ไทยกูยอาศัยอยู่บริเวณทิศตะวันออกติดกับจังหวัดสุรินทร์ โดยทุกชาติพันธุ์มีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง เช่น ภาษา เครื่องแต่งกาย ประเพณี ฯลฯ โดยมีรายละเอียดดังนี้

ชาติพันธุ์
ชาติพันธุ์ไทยเขมร เพิ่มเติม
เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของจังหวัดบุรีรัมย์ ทั้งนี้เพราะมีพื้นที่อยู่ติดกับพรมแดนประเทศกัมพูชา
ชาติพันธุ์ไทยลาว เพิ่มเติม
ไทยลาวในจังหวัดบุรีรัมย์ ดั้งเดิมนั้น มักจะอยู่ทางเหนือแม่น้ำมูลที่ติดกับเขตจังหวัดขอนแก่นและจังหวัดมหาสารคาม
ชาติพันธุ์ไทยโคราช เพิ่มเติม
บางครั้งเรียก ไทยเบิ้ง จะอาศัยอยู่ในเขตอำเภอนางรอง หนองกี่ ปะคำ และอำเภอลำปลายมาศ
ชาติพันธุ์ไทยกูย เพิ่มเติม
หรือเรียกว่า ชาวส่วย เป็นชื่อเรียกจากทางการไทย ในสมัยรัชกาลที่ 3 เรียกกลุ่มเขมรป่าดงที่หาของป่ามาเป็นส่วย
Generic placeholder image